โครงการประเมฺินคุณภาพการจัดการประชุมผู้ถือหุ้น(AGM)


หลักการและเหตุผล

        การเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทจดทะเบียน ถือเป็นภาระหน้าที่ขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้น และโดยเฉพาะสำหรับองค์กรผู้ถือหุ้นรายย่อยเพื่อทำหน้าที่สอดส่องดูแล (Monitor and Survillance) เป็นผู้นำในการปกป้องและรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ลงทุนตลอดจนเป็นตัวอย่าง ที่ดีแก่นักลงทุนโดยทั่วไป นอกจากนี้การเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นยังถือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างธรรมมา ภิบาลที่ดีให้เกิดขึ้นกับองค์กรในตลาดเงิน ตลาดทุนอีกด้วย




วัตถุประสงค์
  • เพื่อปกป้องพิทักษ์สิทธิการลงทุนของผู้ถือหุ้น
  • เพื่อเสริมสร้างและยกระดับธรรมาภิบาลในบริษัทจดทะเบียน
  • เพื่อเป็นการร่วมพัฒนาตลาดทุนให้ก้าวหน้าโดยมีพื้นฐานบริษัทจดทะเบียนที่ดี
    
    

         สมาคมฯ ได้ส่งตัวแทนที่มีคุณภาพเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน ในปี 2549 โดยวางเป้าหมายที่จะเข้าร่วมประชุมให้ครอบคลุมทุกบริษัทจดทะเบียน อนึ่ง ในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นี้ สมาคมฯ ได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  และสมาคมบริษัทจดทะเบียนจัดทำ “AGM Checklist” โดย Checklist นี้ได้รวบรวมเรื่องต่าง ๆ ทั้งเรื่องที่บริษัท ต้องปฏิบัติ ตามข้อกำหนดขั้นต่ำตามกฎหมายบริษัทมหาชนจำกัด และเรื่องที่บริษัท ควรปฏิบัติ ตามแนวปฏิบัติที่ดีตามหลักบรรษัทภิบาลของสากล ซึ่งการจัดทำขึ้นในรูปแบบ Checklist นี้ เพื่อให้บริษัทใช้เป็นคู่มือในการช่วยสอบทานได้ว่า บริษัทได้ทำตามข้อพึงปฏิบัติในการจัด AGM ที่ดีอย่างครบถ้วน หรือไม่ อย่างไร รวมทั้งนำไปใช้เป็นแนวทางการประเมินตัวเองในเบื้องต้น (self -assessment) ตามโครงการประเมินคุณภาพ AGM ของบริษัทจดทะเบียนเพื่อใช้วัดประสิทธิภาพของบริษัทจดทะเบียนในการจัดประชุม ซึ่งการดำเนินการพัฒนาแบบตรวจสอบและการปรับปรุงคุณภาพหลักสูตรการอบรม โครงการอาสาฯ เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์หลักในการผลักดันให้เกิดการจัดประชุมผู้ถือหุ้นที่ โปร่งใส อันถือเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลที่ดีในบริษัทจดทะเบียน




AGM สำคัญอย่างไร ? 

        เพราะ “ผู้ถือหุ้น” เป็นบุคคลที่มีความสำคัญยิ่งต่อบริษัทจดทะเบียน กล่าวคือเป็นเจ้าของเงินทุนที่ใส่เข้ามาในบริษัท เพื่อให้บริษัทนำไปใช้เป็นเงินทุนในการหล่อเลี้ยงและขยายกิจการให้เติบโต ก้าวหน้าต่อไป แต่เนื่องจากผู้ถือหุ้นไม่มีโอกาสได้เข้ามาร่วมบริหารงานบริษัทอย่างใกล้ชิด ดังนั้น กฎหมายจึงกำหนดให้บริษัทต้องมีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี (Annual General Meeting “AGM”) ขึ้นปีละ 1 ครั้ง เพื่อที่จะให้ผู้ถือหุ้นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามดูแลเงินทุนของตนเองที่ใส่เข้าไปในบริษัท

        การที่บริษัทจดทะเบียนให้ความสำคัญกับ AGM มากน้อยเพียงใด จึงเป็นสัญญาณที่ บ่งบอกว่าบริษัทจดทะเบียนนั้น คำนึงถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นและการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันมาก น้อยแค่ไหน ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นองค์ประกอบสำคัญของการมีบรรษัทภิบาลที่ดี ทั้งนี้ กลไกที่จะ ส่งเสริมให้เกิด AGM ที่ดีได้นั้น จะต้องมีแรงผลักดันจากทั้งสองฝ่ายคือ ทั้งฝ่ายบริษัท และฝ่ายผู้ถือหุ้น ที่เล็งความสำคัญในเรื่องนี้ร่วมกัน

        โดย ฝ่ายบริษัทควรใช้โอกาสจาก AGM เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้นจำนวนมาก ๆ ได้พร้อมกันในคราวเดียวในลักษณะสื่อสารแบบสองทาง (two-way communication) โดยให้ผู้ถือหุ้น ได้รับข้อมูลที่จำเป็นสำหรับติดตามการดำเนินงานของฝ่ายบริหาร รวมทั้งมีส่วนร่วมตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญของบริษัท เช่น แผนการดำเนินธุรกิจของบริษัท การเลือกตั้งกรรมการและการจ่ายเงินปันผล เป็นต้น และฝ่ายผู้ถือหุ้นเอง ก็ต้องเข้ามามีบทบาทใน AGMอย่างจริงจังด้วย โดย
เข้า ร่วมประชุมและใช้สิทธิออกเสียงเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน ทั้งนี้ ในการจัด AGM ฝ่ายบริษัท ควรคำนึงถึงการอำนวยความสะดวกให้ฝ่ายผู้ถือหุ้นในการเข้าร่วมประชุม หรือมอบฉันทะให้ผู้อื่น

        หากไม่สามารถเข้าร่วมประชุมด้วยตนเองได้ รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นได้รับทราบล่วงหน้า เพื่อให้มีเวลาเพียงพอในการศึกษาข้อมูลในหนังสือนัดประชุมก่อนการใช้สิทธิ ออกเสียง หรือรวบรวมคะแนนเสียงจากผู้ถือหุ้นรายอื่น





ยกระดับคุณภาพ AGM ตลาดทุนไทย ได้อย่างไร ? 

        สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนและ ก.ล.ต. จึงได้ร่วมกันหาแนว ทางยกระดับคุณภาพการจัด AGM ของบริษัทจดทะเบียน โดยริเริ่มโครงการประเมินคุณภาพ AGM ของบริษัทจดทะเบียนขึ้น ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ AGM ประจำปี 2549 เพื่อรณรงค์ให้บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการจัดประชุม AGM และส่งเสริมให้มีการจัด AGM ที่คำนึงถึงสิทธิของ ผู้ถือหุ้นตามแนวทางบรรษัทภิบาลที่ดี ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน คุณภาพ AGM จะครอบคลุมขั้นตอนต่าง ๆ ในการประชุมผู้ถือหุ้น ตั้งแต่ก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น วันประชุมผู้ถือหุ้น และภายหลังวันประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งในแต่ละขั้นตอนจะมีเนื้อหาที่ใช้ในการประเมิน สรุปได้ดังนี้

        ก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น : บริษัทควรจัดเตรียมเอกสารการประชุมให้มีข้อมูล
ที่เพียงพอต่อผู้ถือหุ้นที่จะใช้ในการออกเสียง จัดส่งข้อมูลหรือเผยแพร่ให้ผู้ถือหุ้นได้รับทราบล่วงหน้าพอสมควร รวมทั้งอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิออกเสียงให้ผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถเข้า ร่วมประชุมด้วยตนเองได้

        วันประชุมผู้ถือหุ้น : บริษัทควรอำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้นที่จะเข้าร่วมประชุม ดำเนินการประชุมเป็นไปอย่างโปร่งใสและมีกลไกที่สามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งสร้างบรรยากาศให้ผู้ถือหุ้นได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็ม ที่ โดยจะมีผู้แทนของสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย เป็นผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ในวันประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท

        ภายหลังวันประชุมผู้ถือหุ้น : บริษัทควรจัดทำรายงานการประชุมที่มีการบันทึก
ข้อมูลสำคัญในระหว่างการประชุม เช่น ผลการลงคะแนนเสียง และการอภิปรายแสดงความเห็นในประเด็นสำคัญของผู้ถือหุ้น เป็นต้นนอก จากนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจถึงแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดประชุม AGM แก่บริษัท และให้บริษัทได้เตรียมความพร้อมสำหรับการจัดประชุม AGM ที่จะถึงนี้ สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียน และ ก.ล.ต. ได้ร่วมกันจัดทำและเผยแพร่เอกสาร “AGM Checklist”

         โดย Checklist นี้ได้รวบรวมเรื่องต่าง ๆ ทั้งเรื่องที่บริษัท ต้องปฏิบัติ ตามข้อกำหนดขั้นต่ำตามกฎหมายบริษัทมหาชนจำกัด และเรื่องที่บริษัท ควรปฏิบัติ ตามแนวปฏิบัติที่ดีตามหลักบรรษัทภิบาลของสากล ซึ่งการจัดทำขึ้นในรูปแบบ Checklist นี้ เพื่อให้บริษัทใช้เป็นคู่มือในการช่วยสอบทานได้ว่า บริษัทได้ทำตามข้อพึงปฏิบัติในการจัด AGM ที่ดีอย่างครบถ้วน หรือไม่ อย่างไร รวมทั้งนำไปใช้เป็นแนวทางการประเมินตัวเองในเบื้องต้น (self -assessment) ตามโครงการประเมินคุณภาพ AGM ของบริษัทจดทะเบียน เพื่อประโยชน์ของบริษัทจดทะเบียนที่จะทำความเข้าใจความต้องการและทัศนะของ ผู้ถือหุ้นที่บริษัทจดทะเบียนนำเสนอต่อผู้ถือหุ้นใน AGM ด้วย

         กล่าวได้ว่า การจัด AGM ของบริษัทจดทะเบียน โดยคำนึงถึงสิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้นทุกกลุ่ม เป็นเครื่องแสดงถึงความตั้งใจของบริษัทที่จะให้ผู้ถือหุ้นได้มีส่วนร่วมใน การบริหารงานอย่างแท้จริง เพื่อส่งเสริมให้มีกลไกถ่วงดุลและตรวจสอบ (check & balance) ในการบริหาร ที่ดี อันเป็นหัวใจของการมีบรรษัทภิบาลที่ดีของบริษัทจดทะเบียน และนำไปสู่ เป้าหมายของการยกระดับบรรษัทภิบาล ของตลาดทุนไทยให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากลต่อไป