17 Apr 2019
April 17, 2019

Investor Rights Guideline

0 Comment

           หนึ่งในเส้นทางของการเดินเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ การแบ่งปันความเป็นเจ้าของ หมายถึง การกระจายหุ้น ให้ประชาชนได้เข้ามาซื้อขายได้อย่างเสรี การถือหุ้นในสัดส่วนที่เหมาะสม ต่อการบริหารงาน ป้องกันการถูก Take Over จนอาจส่งผลให้ความเป็นเจ้าของหลุดลอยไป แบบเหนือความคาดหมาย แผนงานและกลยุทธต่างๆ ถูกวางไว้เป็นระยะอยู่แล้ว ภายใต้การให้คำแนะนำแบบมืออาชีพของที่ปรึกษาทางกฏหมาย/ ทางการเงิน

           เมื่อหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหุ้น นักลงทุนอาจไม่คุ้นเคยกับการที่กลุ่ม/ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือเจ้าของ ที่เราเรียกกันง่ายๆนั้น ประกาศจะเข้ามาซื้อหุ้นตัวเองกลับ ในเมื่อถือหุ้นเองอยู่แล้ว  จะมาซื้อเพิ่มอีกทำไมกัน หรือ จะมาประกาศให้โลกทำไมกันเล่า….น่าคิด

           เรื่องการที่ซื้อหุ้นของบริษัท หมายถึง การนำเงินบริษัท มาซื้อหุ้นตัวเอง ที่ซื้อขายกันอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่แล้วนั้น  ทางตลาดฯ มีเกณฑ์ กำหนดไว้น่าสนใจ  กรณีที่บริษัทจดทะเบียนจะทำการ ซื้อหุ้น ไว้ดังนี้

           บริษัทนั้นๆต้อง มีกำไรสะสม/มีสภาพคล่องในบริษัท และต้องไม่กระทบกับการชำระหนี้ของบริษัท ในอีก 6 เดือนข้างหน้า/ ต้องไม่ทำให้ Free  Float น้อยกว่า 15%

           ข้อสำคัญ เรื่องการซื้อหุ้นคืน ต้องเป็นมติของคณะกรรมการบริษัท ซึ่งปัจจุบัน มักจะต้องมีข้อคิดเห็นส่วนตน เป็นรายคน ว่าลงมติไว้ว่าอย่างไร เพื่อแสดงความรับผิดชอบ หากเกิดสิ่งใดๆขึ้นในอนาคต มีตัวอย่าง ให้เห็นว่าการลงมตินั้น มีโอกาสติดคุก รับโทษกันมาแล้ว

           จากนั้น ต้องเปิดเผยมติ ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันเดียวกัน หรือ ภายใน 09.00 น.ของวันทำการถัดไป การเปิดเผยเรื่องนี้ จำเป็นต้องกระจายให้ผู้ถือหุ้นรับรู้ เกณฑ์ระยะเวลาในการเปิดเผยข้อมูล คือ ต้องเปิดเผย 14 วัน ล่วงหน้า ก่อนเริ่มซื้อหุ้นคืน จำนวน ไม่เกิน 10% หรือหากเกิน ต้องส่งคำเสนอซื้อหุ้นแก่ผู้ถือหุ้นและตลาดหลักทรัพย์ฯ  ไม่น้อยกว่า 10 วัน

           การเคาะราคาซื้อ ต้องไม่เกินราคาปิดของราคาเฉลี่ย  5 วัน ทำการก่อนหน้า และหุ้นที่ซื้อคืนนี้ จะต้องไม่นับเป็นองค์ประชุมในการประชุมผู้ถือหุ้น ต้องไม่มีสิทธิออกเสียง และไม่มีสิทธิรับเงินปันผล

           ระยะเวลาของการซื้อหุ้นคืน ต้องแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 6 เดือน  จากนั้น ต้องมีการขายออกให้หมดทั้งจำนวน ภายใน 3 ปี (นับจากวันที่ซื้อครบ) และต้องเปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ  ถือว่าเป็นการสิ้นสุดโครงการ

           ฟังดู ช่างเป็นสมการลงตัวที่ง่ายๆ ไม่เห็นมีอะไรซับซ้อนเลย หุ้นที่ราคาตกไม่สมเหตุ สมผล จึงต้องมีกลไก เข้ามาดูแล ไม่งั้น ความมั่งคั่ง จะถูกหักหาญ ลดลงไปอย่างน่าเสียดาย

           แต่ในความเป็นจริง ของการเรื่องนี้ อาจส่งผล ให้เกิดการตีความได้หลายมุม  อาทิ เจ้าของ หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่  อาจล่วงรู้ข้อมูลบางอย่าง  จึงรีบรวบหัวหาง รวมหุ้น ในมือให้มาก ถึงมากที่สุด หรือ ซื้อหุ้นไป เพื่อใส่พานให้นักลงทุนต่างชาติ ด้วยข้ออาจเดิมๆ – พันธมิตรทางธุรกิจ – นักลงทุนระยะยาว มาร่วมลงทุน หรือ มีเงินกำไรสะสมอยู่มากเกิน ไม่รู้จะไปลงทุนอะไร หรือเป็นการดึงปริมาณหุ้นออกจากตลาด จากนั้นอาจมีดีมานด์-ซัฟพาย จึงดึงราคาขึ้นสูงได้ หรือ เจ้าของมั่นใจมาก ไม่มีทางทิ้งหุ้นแน่นอน  แถมยังเก็บหุ้นมากขึ้น

           มีประวัติศาสตร์ไม่มากครั้งนัก ที่จะเกิดเหตุแบบนี้  เพราะมีความยุ่งยากไม่น้อย อาทิ บริษัทจดทะเบียน ต้องมีการดูแลให้ผู้รับผิดชอบในการซื้อ-ขายหุ้น ใช้ความระมัดระวัง ในการส่งคำสั่งซื้อ-ขาย เพื่อไม่ให้มีลักษณะเป็นการผลักดันราคา หรือทำให้การซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติของตลาด รวมทั้งไม่เอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลใดเป็นการเฉพาะ มิฉะนั้นอาจเข้าข่ายฐานความผิด ตาม พรบ.หลักทรัพย์ ได้

           ในโลกของตลาดทุน มักมีการเคลื่อนไหว ให้เราได้ติดตาม เรื่องใหม่ๆได้เสมอ  เมื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่จะขายหุ้น ก็เป็นข่าว เมื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่จะซื้อหุ้นคืน ก็เป็นข่าว เช่นกัน

           นักลงทุนรายบุคคล ในฐานะหุ้นส่วนตัวจิ๋ว ก็ย่อมต้องเกาะติดข่าว ด้วยเช่นกัน…….

 

……………………………………………………………………………………………………….

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *