28 Mar 2019
March 28, 2019

Corporate Actions

0 Comment

โดย : ภูวนาถ ณ สงขลา

————————————————————————————————————————————————————————————————

           ก.ล.ต.  ได้กล่าวโทษ อดีตกรรมการและผู้บริหารบบริษัท เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธํ จำกัด (มหาชน) (EARTH) กับพวกรวม 17 ราย  ต่อกรรมการสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรณีร่วมกันสร้างหนี้เทียม เพื่อให้เอิร์ทเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ  รวมทั้งเบียดบังเอาทรัพย์สินของ  EARTH เป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต และแจ้งอัยการฟ้องผู้กระทำผิด 11 ราย กรณีใช้ข้อมูลภายในขายหลัหทรัพย์ EARTH

           กรณีนี้เกิดขึ้นจากกการที่มีการร้องเรียน เกี่ยวกับหนี้สินจำนวน 26,000 ล้านบาท ของ EARTH ที่เพิ่มขึ้น ภายหลังจากที่ส่งงบการเงินงวดไตรมาส 1 ปี 2560 ซึ่งการเพิ่งขึ้นของหนี้สินนี้เป็นเหตุให้ ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงจาก 10,349 ล้านบาท เป็นติดลบ 15,651 ล้านบาท แลพคณะกรรมการบริษัท ได้มีมติอนุมัติให้ EARTH เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2560 ทาง ก.ล.ต. จึงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความมีอยู่และสถานะของหนี้สินที่เพิ่มขึ้น จำนวน 26,000 ล้านบาท

           ซึ่งต่อมาในวันที่ 12 มิถุนายน 2561 ก.ล.ต.  ได้กล่าวโทษกรรมการ EARTH รวม 11 ราย กรณี ลงข้อความเท็จ หรือไม่ลงข้อความสำคัญในเอกสารเกี่ยวกับหนี้สินที่เพิ่มขึ้นจำนวนดังกล่าว

           ก.ล.ต. ยังได้ตรวจสอบจข้อมูลทั้งหมด และพบว่าในช่วงปี 2560 กรรมการและผู้บริหารหลักของ EARTH 7 ราย และกลุ่มเจ้าหนี้และผู้มอบอำนาจของเจ้าหนี้ 10 ราย ได้ร่วมกันดำเนินการ หรือมีส่วนรู้เห็นยินยอม และสนัยสนุนการกระทำผิดสร้างหนี้เทียม ไม่ว่าจะเป็นการที่ อดีกรรมการผู้บริหารของ EARTH แกล้งให้ EARTH เป็นหนี้ เพื่อจะได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งยังพบหลักฐานการนำทรัพย์สินของ EARTH ออกจากบริษัท เพื่อให้เจ้าหนี้นำไปใช้ดำเนินการตามกฎหมายกับ EARTH

           อีกทั้ง EARTH กับเจ้าหนี้บางรายยังได้ร่วมกันทำธุรกรรมต่างๆ หลายรายการ ซึ่งมีผลเป็นการนำทรัพย์สินออกจาก EARTH ในลักษณะที่ไม่เป็นไปตามขึ้นตอนการดำเนินการตามปกติ ไม่มีความสมเหตุสมผล และเอื้อผลประโยชน์ให้กับเจ้าหนี้บางรายเป็นพิเศษ ซึ่งเข้าข่ายเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ของ EARTH เพื่อผลประโยชน์ของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต และเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควร

           ก.ล.ต. แจ้งว่า ผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ของ EARTH ได้รับผลกระทบจากการกระทำข้างต้นสามารถเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอยสวนคดีพิเศษ ในฐานะผู้เสียหายโดยตรงเพื่อรักษาประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและของบริษัทต่อไป

           ล่าสุด ก.ล.ต. ได้มีหนังสือขอให้อัยการฟ้องคดีบุคคลทั้ง 11 รายต่อศาลแพ่ง แล้ว โดยจะขอให้ศาลกำหนดชำระเงินค่าปรับทางแพ่งและส่งคืนผลประโยชน์ที่ได้รับจากการกระทำความผิด รวม 183,268,831.70 บาท และห้ามผู้กระทำความผิดทั้ง 11 ราย ไม่ให้ซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขาบหลักทรัพย์ หรือเข้าผูกพันตามสัญญาซื้อ ขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นเวลา 5 ปี และห้ามผู้กระทำความผิดทั้ง 11 ราย เป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์ เป็นเวลา 10 ปี

           นำมาเล่าเป็นเครื่องเตือนใจว่า หากเป็นกรณีที่คณะกรรมการ ผู้บริหารร่วมมือกัน ทุจริตแล้ว ความเสียหารที่เกิดขึ้นกับบริษัทนั้นสาหัสยิ่งนัก ดังนั้น ปัจจัย ในเรื่องของ “คณะกรรมการ” และ “ผู้บริหาร” รวมทั้ง “การทุจริตคอรัปชั่น” ถือเป็นปัจจัยที่ไม่อาจจะมองข้ามได้เลยในการตัดสินใจลงทุนในยุคนี้

————————————————————————————————————————————————————————————————

           ข้อสงวนและข้อจำกัดความรับผิดชอบ

————————————————————————————————————————————————————————————————

           เนื้อหาบทวิเคราะห์คำแนะนำ หรือความคิดเห็นใดๆ ในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้นำเสนอเนื้อหาดังกล่าวเท่านั้น มิได้เป็นการแสวงว่าสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย เห็นพ้องด้วยกับความคิดเห็นนั้น ที่สำคัญคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนใดๆ ล้วนมีความเสี่ยง การตัดสินใจกระทำการใดๆ โดยอาศัยเนื้อหาดังกล่าว ผู้ลงทุนต้องเป็นผู้รับความเสี่ยงด้วยตนเองทั้งหมด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *