28 Mar 2019
March 28, 2019

Corporate Actions

0 Comment

 โดย :  พรรณี วรวุฒิจงสถิต

กรรมการ สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย

————————————————————————————————————————————————————————————————

           ปี 2562 มีการประกาศใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินใหม่ๆ สำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการรับรู้รายได้ ทำให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทุกบริษัทมีผลกระทบจากการประกาศใช้มาตรฐานดังกล่าวไม่มากก็น้อย

           มาตรฐานการบัญชีที่กล่าวถึงได้แก่ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 (TFRS# 15) เรื่องรายได้ที่ทำสัญญากับลูกค้า และจากการที่ประกาศใช้มาตรฐานฉบับนี้ทำให้เกิดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้รายได้เดิม ได้แก่ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 (ปรับปรุง 2560) เรื่องสัญญาก่อสร้าง มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 18 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง รายได้ การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง รายได้ – รายการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับรายการโฆษณา การตีความมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 13 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง สัญญาสำหรับการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ การตีความมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 18 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง การโอนสินทรัพย์จากลูกค้า เป็นต้น

           หากเปรียบเทียบวิธีการรับรู้ทางรายได้แบบเดิมและแบบใหม่ จะเห็นความแตกต่างได้ดังนี้คือ

การรับรู้รายได้ตามมาตรฐานการบัญชีเดิม TAS#ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อ การรับรู้รายได้ตามมาตรฐานการบัญชีใหม่ TFRS#15 มี 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
1         ได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่มีนัยสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้าให้กับผู้ซื้อแล้ว 1          มีสัญญาที่ทำกับลูกค้า
       2      ไม่เกี่ยวข้องในการบริหารสินค้าอย่างต่อเนื่องในระดับที่เจ้าของพึงกระทำ หรือไม่ได้ควบคุมสินค้าที่ขายไปแล้วทั้งทางตรงทางอ้อม 2          มีภารกิจที่ต้องปฏิบัติในสัญญา -ที่ต้องส่งมอบ
       3      สามารถวัดมูลค่าจำนวนรายได้อย่างน่าเชื่อถือ

 

3         คิดราคาสิ่งที่ต้องส่งมอบ
        4      มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนที่จะได้รับ    ผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากการขาย 4         ถ้าราคารวมหลายรายการ ต้องปันส่วน
5    สามารถวัดมูลค่าด้านต้นทุนที่เกิดขึ้นหรือที่จะเกิดขึ้นนั้นเนื่องจากรายการนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ 5      รับรู้รายได้ตามภารกิจที่ส่งมอบ ตามราคาที่ กำหนด / ปันส่วน

 

           จากวิธีการรับรู้รายได้แบบใหม่ หากตามสัญญา ภารกิจที่ต้องส่งมอบมีอย่างเดียว มีราคาชัดเจน สามารถรับรู้รายได้ตามราคาขิงสิ่งที่มอบได้ชัดเจน ไม่มีปัญหา แต่หากในการมอบสินค้าหรือบริการนั้น มีภารกิจที่ต้องส่งมอบต่างเวลากันตลอดสัญญา กิจการจำเป็นที่จะต้องปันส่วนราคาเพื่อการรับรู้แต่ภารกิจที่สำเร็จ กรณีเช่นนี้ หากภารกิจชัดเจน  ราคาชัดเจนเป็นไปตามราคาตลาด ของภารกิจนั้นๆ ก็ไม่น่าจะมีปัญหากับสรรพากรเช่นกัน

           แต่หากเป็นกรณีที่ไม่ชัดเจน เป็นแค่การประมาณการ การคาดเดา วิธีการเช่นนี้ก็จะมีปัญหาในเรื่อง การรับรายได้ทางภาษีอย่างแน่นอน โดยเฉพาะกิจการรับเหมาก่อสร้าง ที่ทางภาษีให้รับรู้รายได้ตามอัตราส่วนของงานที่สำเร็จ กิจการรับเหมาก่อสร้างจะมีปัญหา การรับรู้รายได้ทางภาษีอย่างแน่นอน

           อีกประการที่สำคัญ ในกรณีที่กิจการต้องมีการปันส่วนภารกิจที่ต้องส่งมอบ สินค้าหรือบริการนั้น อาจทำให้กิจการที่เคยรับรู้รายได้ทั้งจำนวน ต้องมีการกระจายการรับรู้รายได้ที่เกิดขึ้นออกไปตามภารกิจที่ส่งมอบ นั่นหมายความว่า รายได้จะหายไป กำไรก็จะหายไปด้วย ส่งผลต่อเงินปันผลที่จะจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นก็จะน้อยลงไปเช่นกัน จากเดิมที่เคยได้ทั้งก้อนทันที ก็ต้องทยอยรับไปตามกำไรที่ทยอยรับรู้

           ในประเด็นเช่นนี้ หากกิจการสามารถปรับโครงสร้างการส่งมอบสินค้าหรือบริการใหม่ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีก็อาจจะไม่ส่งผลกระทบมากนัก หากว่าไม่ปรับตัว ยังคงยึดภารกิจแบบเดิมๆ ก็จะมีผลกระทบอย่างแน่นอน

           นอกจากนี้ยังมีผลกระทบจากมาตรฐาน อีกหลายฉบับที่ประกาศใช้ และส่งผลต่อตัวเลขผลการดำเนินงานของกิจการ เช่น ในเรื่องของการบันทึกค่าใช้จ่ายประมาณการผลประโยชน์ พนักงานที่จะต้องเพิ่มขึ้น หากกิจการมีพนักงานที่ทำงานมานานเกินกว่ายี่สิบปี เพราะกฎหมายแรงงานให้สิทธิประโยชน์ ในการรับเงินชดเชยจากเดิม สิบปีขึ้นไป ได้สูงสุด 300 วันของเงินเดือนสุดท้าย  ก็จะเป็นยี่สิบปีขึ้นไปจะได้สูงสุด 400 วันของเงินเดือนสุดท้าย ซึ่งทำให้กิจการต้องทำการบันทึก ประมาณการหนี้สินที่จะต้องจ่ายในอนาคตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กำไรน้อยลฃงได้เช่นกัน

           ดังนั้น นักลงทุนต้องอ่านงบการเงินให้เป็นและต้องเข้าใจให้ได้ว่า กำไรของกิจการที่น้อยลงในไตรมาสนี้ เกิดจากผลกระทบจากการรับรู้รายได้หรือค่าใช้จ่าย ตามมาตรฐานการบัญชีที่ประกาศใช้ใหม่ หรือเป็นเพราะผลการดำเนินงานของธุรกิจเอง

เพราะสิ่งเหล่านี้ต้องส่งผลต่อการตัดสินใจผิดของนักลงทุนได้หากไม่เข้าใจถึงผลกระทบ ที่เกิดจากการปรับปรุงบัญชีดังกล่าว