Q&A Alert Stock

โครงการ “การประเมินคุณภาพ การจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568” โดยสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ลำดับ : 49/60
ตัวย่อหลักทรัพย์ : COMAN
ชื่อหลักทรัพย์ : บริษัท โคแมนชี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
วันที่ประชุม : 30 เมษายน 2568
เวลาประชุม : 10:00:00
รูปแบบการประชุม : e-AGM
สถานที่ หรือ ผู้ให้บริการในการจัดประชุมรูปแบบ e-AGM :  
คำถามจำนวน 8 ข้อ คำตอบ
1. ธุรกิจหลักของ COMAN คือธุรกิจใด ระหว่าง ธุรกิจพัฒนาเพื่อจำหน่ายและติดตั้ง Software กับ ธุรกิจค้าปลีก เพราะสัดส่วนรายได้กว่า 80% มาจากธุรกิจค้าปลีก และมีแผนที่จะแก้ไขสถานการณ์ขาดทุนของบริษัทอย่างไร

2. หุ้น COMAN ถูกขึ้นเครื่องหมาย CS เนื่องจากผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไข เพราะไม่สามารถหาหลักฐานที่เพียงพอในการตรวจสอบประเด็นการไม่ตั้งค่าเผื่อความเสียหายเงินจ่ายล่วงหน้าค่าสินค้า และการไม่ประเมินมูลค่าเงินลงทุนในบริษัทย่อยที่คาดว่าจะได้รับคืน บริษัทฯชี้แจงในประเด็นเหล่านี้อย่างไร และบริษัท วินสตาร์เทค จำกัด ที่กล่าวถึง มีเจ้าหน้าที่ ผู้บริหาร หรือกรรมการของ COMAN ถือหุ้นอยู่ด้วยหรือไม่ หากเคยมี มีแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเช่นนี้อีกในอนาคตอย่างไร (ปัจจุบันบริษัทได้ขาย วินสตาร์เทค ให้บุคคลภายนอกแล้ว และได้บันทึกผลขาดทุนจากการตั้งค่าเผื่อเงินจ่ายล่วงหน้าเต็มจำนวนในงบการเงินของส่วนงานที่ยกเลิกไปแล้ว)

3. ขอสอบถามเหตุผลที่บริษัทขายเงินลงทุนในบริษัท วินสตาร์เทค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย (ขาย 426,500 หุ้น ราคาหุ้นละ 32.55 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 13.88 ล้านบาท) ว่ากำหนดราคาโดยวิธีใด ราคาขายมีความสมเหตุสมผลหรือไม่ อย่างไร และเป็นการขายให้กับผู้ซื้อรายใด   

4. COMAN มีความจำเป็นอย่างไรในการเพิ่มทุนแบบ RO ให้ได้ แม้จะต้องขยายเวลารับจองซื้อถึง 2 ครั้ง รวมกว่า 2 เดือน ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ได้เงินจากการเพิ่มทุนแบบ General Mandate ถึง 33.5 ล้านบาท และ ณ สิ้นปี 2567 รายงานว่าใช้เงินไปเพียง 7.5 ล้านบาท ยังเหลืออีก 26.0 ล้านบาท เงิน 7.5 ล้านบาทนั้นใช้ไปในเรื่องใด และเงินที่เหลือ 26.0 ล้านบาท จะนำมาใช้แก้ไขผลขาดทุนที่สูงขึ้นถึง 46 ล้านบาทในปี 2567 หรือไม่อย่างไร

5. COMAN มีกลยุทธ์ในการแก้ไขผลขาดทุนสะสมอย่างไร เนื่องจากในปี 67 บริษัทมีขาดทุนสะสม 101.55 ล้านบาท

6. กรณี COMAN มีการเข้าซื้อขายหุ้นทุนในช่วงกันยายน-ตุลาคม 2567 และกรณีข่าวเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567 มีรายงานการจำหน่ายหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ COMAN ขอทราบว่าจาก 2 กรณีดังกล่าวบริษัทได้รับผลกระทบอะไรบ้าง และมีแนวทางในการรักษาภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นของผู้ถือหุ้นที่มองว่าผู้ถือหุ้นรายใหญ่ยังขายหุ้นออกไปแล้ว

7. COMAN มีนโยบายในการขยายธุรกิจไปยังธุรกิจอื่นเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไร

8. กรณี COMAN มีการวางเงินมัดจำ 50 ล้านบาท เพื่อเข้าลงทุนในโครงการแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ระหว่างการทำ Due Diligence จึงขอทราบรายละเอียดของโครงการดังกล่าว ความคืบหน้าในการ Due Diligence และเงื่อนไขสัญญาที่สำคัญ รวมถึงเงินมัดจำที่วางล่วงหน้า สามารถเรียกคืนได้หรือไม่
ติดตามคำตอบได้ เมื่อมีการส่งรายงานการประชุมให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใน 14 วันหลังวันประชุม

อ้างอิงข้อมูล www.set.or.th